วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล

2.1  การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน

                    (1) จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
                    ๑.๑  ด้านเศรษฐกิจ

                   -  ปัญหายางพาราตกต่ำ เศรษฐกิจทรุดตัว ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย                                       ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น

                   -  ประชาชนขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพทำนา ทำให้พื้นที่เกิดนาร้าง

                   -  ประชาชนในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน

                   -  ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำ

                   -  ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ

                   -  ประชาชนขาดความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

                   ๑.๒  ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม)

                   -  เยาวชนในพื้นที่ติดยาเสพติด

                   -  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน

                   ๑.๓  ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

                   -  สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดินทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดีเท่าที่ควร

                   -  สภาพดินในพื้นที่ทำให้ต้องมีการบำรุงดิน และเอาใจใส่

                   ๑.๔  ด้านการบริหารจัดการ

                   -  การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร  

                   -  ทำงานล่าช้า และไม่รวดเร็ว

                   ๑.๕ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                   -  ปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ในฤดูแล้ง

                   -   ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่

                    ๑.๖  ด้านสาธารณสุข

- ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการกำจัดขยะที่เป็นระบบและปลอดภัย

- ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม ในช่วงฤดูฝน                         


(2) จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น

                   ๒.๑ ด้านเศรษฐกิจ

                   -   มีโรงเรืองกรองน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค สามารถผลิตน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาด ให้แก่ชาวบ้าน

                   -   มีร้านค้าสวัสดิการชุมชน

                   กลุ่มผู้ค้าขายมีความสามารถในการนำเสนอผลิตผลได้เอง เช่น การทำขนม เบเกอรี่ของกลุ่มสตรี

                   -  การจัดตั้งร้านขายอาหารเช้าทุกๆวันศุกร์ เพื่อสมทบทุนในการสร้างมัสยิดอะเราะเฮม

๒.๒  ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม)

                   -  มีจิตอาสาญาลานันบารู จัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถทำให้เด็กๆและ                     เยาวชน ตระหนักถึงโทษของยาเสพติด

                   -  ทรัพย์สินมัสยิด (วากัฟ) ที่ดินโรงเรียนตาดีกา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 

                   -  การศึกษา สอนกีรออาตีทุกคืน เรียนตามบาลาเซาะห์ ยกเว้นคืนวันพฤหัสให้อ่านยาซีน

๒.๓  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   -  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล

                   -  สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่อย่างสม่ำเสมอ

                   -  ประชาชนสามารถจัดการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ได้เอง

๒.๔ ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

                        -  มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง

                   -  การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน สามารถดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้านได้เอง

                   -  สามารถบริหารจัดการปัญหาของหมู่บ้านได้เอง

                   -  มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ที่เข้มแข็ง สามารถจัดระบบการรักษาดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้านได้เอง

๒.๕ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-  ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน  โดยส่วนใหญ่มีความพร้อม  และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่ม  

  มากยิ่งขึ้น  รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา

๒.๖   ด้านสาธารณสุข

-  มีโรงงานกรองน้ำที่สะอาด ชาวบ้านสามารถซื้อน้ำที่ปราศจากสนิม ปลอดภัยต่อชีวิต

  ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

-  มี อสม.ในพื้นที่ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดัน เบาหวานแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่

-  ประชาชนในพื้นที่บริโภคพืชผักริมรั้ว และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ      

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
                   (1) โอกาส
                   -  มีโรงเรียนรัฐ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ ช่วยสร้างโอกาสให้เด็กเยาวชน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่ต้องเดินทางไปศึกษาต่างพื้นที่ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นประชาชนควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเยาวชนตั้งใจศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาชุมชน

       - โรงเรือนกรองน้ำ หมู่บ้านปาดังยอเป็นพื้นที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำในการอุปโภคและบริโภค               ไม่สะอาด  เนื่องจากไม่มีระบบน้ำประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภคจึงทำให้มีการเจาะน้ำบาดาลใต้ดินขึ้นมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งน้ำบาดาลนั้น จะมีสารสนิมเหล็ก ตะกอน มีกลิ่นและอินทรีย์สารในน้ำจำนวนมากทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะแก่การบริโภคและอุปโภคจึงมีการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้สะอาดดังนั้นชุมชนสามารถ ผลิตน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคใช้เองหรือผลิตจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ของตำบลเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และสร้างโรงน้ำดื่มชุมชน  เพื่อให้กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน นำไปใช้ผลิตน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัยให้กับชุมชน

(2) อุปสรรค
          -  ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำประกอบกับประชาชนขาดความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

                    - ประชากรในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน  เนื่องจากขาดความรู้และไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ

          2.3 วิสัยทัศน์ (ทิศทางการพัฒนา)
 
                  “ปาดังยอเข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งเศรษฐกิจให้รุ่งเรือง

          2.4 ยุทธศาสตร์  
                   1)  ส่งเสริมให้ภายในชุมชนเกิดความรัก ความสามัคคี

                   2)  ส่งเสริมการเรียนรู้และการศึกษา

                   3)  ส่งเสริมการประกอบอาชีพและการสร้างรายได้

                   5)  ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          2.5 กลยุทธ์

                    ๑. ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้  และการให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนิน กิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นทั้งภาครัฐและเอกชน

                   ๒. ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและให้คำแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา

       ๓. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในด้านการพัฒนาอาชีพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอาชีพและการ                

2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

      หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน  การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ
SWOT  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

1. แผนที่หมู่บ้าน 2. ประวัติหมู่บ้าน “ ที่มาของชื่อหมู่บ้านปาดังยอ  มาจากการตั้งชื่อของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านในยุคแรกๆ ได้มาทำส...